เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา CNN ได้มีการรายงานว่า คณะนักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นเทคนิคใหม่ที่ช่วยไขเบาะแสเกี่ยวกับมัมมี่อียิปต์ในยุคโรมัน ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 1,900 ปี ที่มีการค้นพบในเขตโบราณสถานฮาวาราของประเทศอียิปต์
โดยเทคนิคนี้ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีที (Computed tomography:CT) และการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction) จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องแตะต้องหรือเปิดโบราณวัตถุออกแต่อย่างใด ซึ่งเทคนิคพิเศษนี้จะมีความแตกต่างจากการใช้รังสีเอกซ์ถ่ายภาพโดยไม่ล้วงล้ำเข้าสู่มัมมี่เหมือนที่ผ่านมา

ในวารสารวิทยาศาสตร์ราชสมาคม (Journal of the Royal Society) ของประเทศอังกฤษได้มีการตีพิมพ์การค้นพบดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นของคณะนักวิจัยอเมริกันจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ร่วมกันกับห้องปฏิบัติการแห่งชาติอาร์กอนน์ และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเมโทรโพลิแทนเดนเวอร์ ได้มีการอธิบายการใช้งานร่วมกันระหว่างซีทีสแกนและการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์
โดยนักวิจัยจากโรงเรียนการแพทย์ไฟน์เบิร์ก มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ‘สจ๊วต สต๊อก’ ซึ่งเป็นผู้นำในการเขียนการศึกษานี้ ได้กล่าว่า ผู้เชี่ยวชาญใช้ลำแสงรังสีเอกซ์ ที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นมนุษย์ ส่องเข้าไปในมัมมี่ ที่ได้มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเด็กหญิงวัย 5 ขวบ เพื่อระบุวัตถุภายในห่อผ้าของโบราณวัตถุ และได้ใช้ซีทีสแกนสร้างแผนผังส่วนประกอบของมัมมี่ ซึ่งรังสีเอกซ์ช่วยให้คณะนักวิจัยได้สิ่งที่มีลักษณะเหมือนกับลายนิ้วมือ ที่มีลักษณะเฉพาะของวัตถุโบราณ และพบแคลเซียมคาร์บอเนตบริสุทธิ์มาก ๆ ในมัมมี่ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้คณะวิจัยอึ้งไปตาม ๆ กัน

นอกจากนี้สต๊อกยังได้กล่าวต่อว่า ชิ้นส่วนดังกล่าวมีรูปร่างเหมาะสมกับ แมลงปีกแข็ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการเกิดใหม่ ซึ่วตามประเพณีโบราณจะมีการบรรจุลงไปในรอยบากของช่องท้องศพระหว่างการทำมัมมี่ ทั้งยังช่วยไขเบาะแสเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานะทางสังคมของมัมมี่ได้ว่าไม่ใช่คนในราชวงศ์ แต่เป็นคนระดับบนของสังคม เพราะมีการประดับแร่ธาตุบริสุทธิ์นั่นเอง
จากการศึกษาพบว่าเด็กหญิงวัย 5 ขงบคนนี้ ไม่ได้จบชีวิตลงด้วยความรุนแรง เพราะตามร่างกายไม่พบร่องรอยของการได้รับบาดเจ็บที่โครงกระดูก แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่ทราบสาเหตุของการตายเช่นกัน

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเทคนิคที่คิดค้นขึ้นมานี้สามารถใช้ศึกษามัมมี่เพิ่มเติมได้จริง ซึ่งจะเป็นเบาะแสสำคัญเกี่ยวกับวัตถุที่ฝังอยู่ข้างมัมมี่โบราณ โดยที่จะทำการศึกษาแบบไม่จำเป็นต้อวรบกวนและยุ่งกับศพอีกต่อไป
นอกจากจะต้องไม่ต้องยุ่งหรือสัมผัสกับซากของมัมมี่แล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคที่อาจมาจากตัวมัมมี่ได้อีกด้วย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งการคิดค้นที่น่ายกย่องมากจริง ๆ
ขอบคุณข้อมูล : Khaosod