ธารน้ำแข็งอินเดีย คร่าชีวิตประชาชนแล้วกว่า 18 ราย
ตริเวนทรา ราวัต มุขมนตรีรัฐอุตตราขัณฑ์ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าเมื่อวานนี้ (7 ก.พ. 64) ได้เกิดภัยพิบัติที่นับว่าเป็นหายนะครั้งรุนแรง และคาดว่าจะก่อให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุการณืของกระแสน้ำจากเทือกเขาสูงได้ไกลเข้าท่วมเขื่อนริชิกังกา (Rishiganga) ที่เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กแห่งหนึ่งในเขตชาโมลี ซึ่งเขื่อนแห่งนี้มีคนงายอาศัยอยู่ 35 คน แต่เนื่องจากกระแสน้ำได้พัดลงไปเรื่อย ๆ ตามแม่น้ำเธาลีกังกา และได้สร้างความเสียหายต่อเขื่อนโปวัน วิษณุคัต (Tapovan Vishnugad) ที่มีอุโมงค์อีก 2 แห่ง
ซึ่งทางกองทัพอินเดียและกองกำลังตอบสนองภัยพิบัติแห่งชาติ (NDRF) ได้ระดมเจ้าหน้าที่เข้าร่วมในปฏิบัติการกู้ภัย และมีทีมค้นหาของ NDRF เดินทางโดยเครื่องบินจากกรุงนิวเดลีไปถึงยังรัฐอุตตราขัณฑ์ รวมถึงนักประดาน้ำจากกองทัพบกและกองทัพเรืออินเดียช่วยค้นหา

โดยรัฐบาลท้องถิ่นรัฐอุตตราขัณฑ์แถลงวันนี้ (8 ก.พ. 64) ว่าในขณะนี้ เจ้าหน้าที่ได้เก็บร่างผู้เสียชีวิตจากสถานที่ต่าง ๆ ได้แล้วอย่างน้อย 18 ศพ แต่ยังคงมีผู้สูยหายอีกไม่ต่ำกว่า 200 คน ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่เป็นคนงานในโรงงานไฟฟ้า 2 แห่ง ที่ถูกน้ำซัดหายไป ซึ่งคาดว่าจุดที่น่าจะมีคนติดอยู่คือบริเวณอุโมงค์ 2 แห่ง ที่ถูกดินโคลนพัดลงมาทับ และเนื่องจากถนนสายหลักถูกตัดขาด จึงทำให้ทีมกู้ภัยจำเป็นต้องใช้วิธีปีนเชือกลงจากเนินเขาเพื่อลงไปถึงทางเข้าอุโมงค์
และในขณะนี้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้มีการรายงานว่า เขื่อนทั้ง 2 แห่ง ถูกปล่อยน้ำออกจนหมดเพื่อสกัดไม่ให้กระแสน้ำไหลไปถึงเมืองริชิเกซ (Rishikesh) และหริทวาร (Haridwar) ที่นับว่าเป็น 2 เมืองศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู ขณะเดียวกันประชาชนทุกพื้นที่ถูกสั่งไม่ให้เข้าใกล้แม่น้ำในช่วงเวลานี้เด็ดขาด

นายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี แห่งอินเดีย โพสต์ข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ว่า ตนกำลังเฝ้าติดตามปฏิบัติการกู้ภัยอย่างใกล้ชิด และย้ำว่า “อินเดียยืนหยัดอยู่ข้างรัฐอุตตราขัณฑ์ และประชาชนทั้งประเทศภาวนาให้ทุกคนที่นั่นปลอดภัย” ซึ่งในตอนนี้ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ธารน้ำแข็ง “นันทาเทวี” แตกในช่วงเวลานี้ของปี ทั้งที่อากาศยังคงหนาวเหน็บและไม่มีฝนตกแต่อย่างใด
แต่หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2013 รัฐอุตตราขัณฑ์ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทสเนปาลและทิเบต เคยเผชิญกับฝนตกหนักจนทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 6,000 คน จนหายนะในครั้งนั้นได้รับสมญานามว่า ‘สึนามิ หิมาลัย’ เพราะมันปลดปล่อยกระแสน้ำโคลนที่เชี่ยวกราดบนภูเขา พร้อมทั้งซัดผู้คน บ้านเรือน และทรัพย์สินให้จมอยู่เบื้องล่าง
วิมเลนทู จา ผู้ก่อตั้งกลุ่มเอ็นจีโอด้านสิ่งแวดล้อม Swechha ระบุว่า ภัยพิบัติครั้งนี้เป็นสิ่งย้ำเตือนให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงผลกระทบของปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และผลที่เกิดมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ถนน, ทางรถไฟ และโรงไฟฟ้า ในพื้นที่ที่มีความเปราะบางทางระบบนิเวศ
หากเหตุการณ์มีสถานการณ์คืบหน้าอย่างไร เราจะรีบนำมาอัปเดตให้ทุกท่านทราบอีกครั้งค่ะ
ข้อมูลข่าวจาก : MGRONLINE